สัญญาซื้อขายไฟฟ้า Private PPA (Private Power Purchase Agreement)

private ppa wise energy

Private PPA หรือสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าแบบเอกชน เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้า (นายทุน) และผู้ใช้ไฟฟ้า (บริษัทหรือองค์กร) ในการซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์เซลล์ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องลงทุนในการติดตั้งระบบแต่อย่างใด นายทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงการติดตั้งและการดูแลรักษาระบบ

รายละเอียดของ Private PPA

1. การติดตั้งระบบโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

บริษัทที่ทำสัญญา Private PPA จะได้รับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือพื้นที่ที่เหมาะสมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นายทุนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการดูแลรักษาระบบ

2. สัญญาการซื้อขายไฟฟ้า

ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องเซ็นสัญญากับนายทุนในการซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์เซลล์ในราคาที่ตกลงกันไว้เป็นระยะเวลา 8-20 ปี ราคาที่ตกลงนี้มักจะต่ำกว่าราคาที่การไฟฟ้าขายให้ โดยส่วนลดนี้สามารถสูง 10-50% จากเรทปกติของการไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของสัญญา

3. ประหยัดค่าไฟฟ้า

บริษัทที่ทำสัญญาจะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าทันทีตั้งแต่เริ่มใช้ระบบโซลาร์เซลล์ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว แม้จะต้องซื้อไฟฟ้าจากนายทุนในช่วงระยะเวลาสัญญา แต่ราคาที่ถูกกว่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้มาก

4. การโอนระบบหลังหมดสัญญา

เมื่อครบระยะเวลาสัญญา นายทุนจะโอนระบบโซลาร์เซลล์ทั้งหมดให้กับบริษัทโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้บริษัทได้รับไฟฟ้าฟรีจากระบบโซลาร์เซลล์ในอนาคต เสมือนเป็นผู้ลงทุนเองตั้งแต่แรก

5. การดูแลและบำรุงรักษา

นายทุนจะรับผิดชอบการดูแลรักษาระบบทั้งหมดในช่วงระยะเวลาสัญญา ทำให้บริษัทไม่ต้องกังวลเรื่องการซ่อมบำรุงหรือการเสื่อมสภาพของระบบ

private ppa wise energy

ตัวอย่างการทำ Private PPA

บริษัทนายทุน B ทำสัญญา Private PPA โดยจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 1 MW ให้บริษัท A ฟรี โดยมีเงื่อนไขว่าบริษัท A ต้องซื้อไฟฟ้าจากนายทุนในราคาที่ลดลง 30% จากเรทของการไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 10 ปี และเมื่อหมดสัญญา นายทุนจะยกระบบโซลาร์เซลล์ทั้งหมดให้

โดยเฉลี่ย โซลาร์เซลล์ขนาด 1 MW จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 540,000 บาทต่อเดือน แต่สัญญา Private PPA ในช่วง 10 ปีนี้กำหนดให้ขายไฟในราคาส่วนลด 30% ทำให้บริษัทจ่ายค่าไฟเพียง 380,000 บาท ประหยัดส่วนต่างไป 160,000 บาทต่อเดือน เมื่อคิดเป็นต่อปีจะทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้ไฟได้สูงถึง 19,660,000 บาทต่อปี

เมื่อครบอายุสัญญา 10 ปี บริษัทนายทุน B จะยกระบบโซลาร์เซลล์ให้บริษัท A ทำให้ไฟฟ้าจากโซลาร์ได้ 100% หรือประมาณ 6,500,000 บาทต่อปี ซึ่งเมื่อถึงปีที่ 30 ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์อาจเสื่อมอายุการใช้งาน อาจจะหยัดได้สูงถึง 112,180,000 บาท

คิดเป็นการประหยัดค่าไฟโดยไม่ต้องลงทุนเองทั้งสิ้น 131,840,000 บาท

ตารางเปรียบเทียบ Private ppa epc loan ของโซลาร์เซลล์

การลงทุนในระบบโซลาร์เซลล์มีสามทางเลือกหลัก ได้แก่ การลงทุนเอง, การใช้สินเชื่อ และการทำ Private PPA โดยการลงทุนเองต้องใช้เงินทุนเริ่มต้นสูงแต่จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการลดค่าไฟฟ้าและไม่มีข้อผูกพันระยะยาว การใช้สินเชื่อช่วยกระจายค่าใช้จ่ายออกเป็นงวด ๆ ทำให้ไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในทันที แต่ต้องชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามสัญญา ส่วนการทำ Private PPA ไม่ต้องลงทุนใด ๆ ในตอนแรก และได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าทันที แต่ต้องเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากนายทุนเป็นระยะยาวและจะได้โอนระบบโซลาร์เซลล์มาเป็นของตนเองเมื่อครบสัญญา ทำให้เหมาะสมกับบริษัทที่ไม่ต้องการลงทุนก้อนใหญ่ทันที

โดยสรุปแล้ว ไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุดสำหรับทุกบริษัท ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินและนโยบายของแต่ละบริษัทในการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง

บริษัทที่เหมาะสมในการทำ Private PPA

ควรมีคุณสมบัติและสถานการณ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับลักษณะของการทำสัญญานี้ โดยปัจจัยที่ควรพิจารณา ได้แก่:

1. บริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทันที

  • บริษัทที่ต้องการลดค่าไฟฟ้าทันทีโดยไม่ต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่
  • อุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากและต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

2. บริษัทที่มีนโยบายไม่ลงทุนในทรัพย์สิน

  • บริษัทข้ามชาติหรือบริษัทที่มีนโยบายไม่ลงทุนในทรัพย์สินถาวร เช่น อาคารหรือระบบพลังงาน
  • บริษัทที่ต้องการรักษาสภาพคล่องทางการเงินและไม่ต้องการมีภาระการลงทุนเพิ่มเติม

3. บริษัทที่ไม่ต้องการความเสี่ยงในการบำรุงรักษา

  • บริษัทที่ต้องการลดความเสี่ยงด้านการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมระบบพลังงาน
  • บริษัทที่ต้องการให้การติดตั้งและดูแลรักษาระบบโซลาร์เซลล์เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญภายนอก

ยกตัวอย่างเช่น

  • โรงงานอุตสาหกรรม: โรงงานที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในกระบวนการผลิต
  • ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า: สถานที่ที่ใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาและมีพื้นที่หลังคาที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์
  • สำนักงานขนาดใหญ่: อาคารสำนักงานที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงและต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
  • โรงพยาบาลและสถานพยาบาล: สถานที่ที่ต้องการไฟฟ้าสม่ำเสมอและต้องการลดค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
  • สถาบันการศึกษา: โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว้างและต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า

ขั้นตอนการทำ Pivate PPA

1. ติดต่อ Wise energy

เพื่อสอบถามรายละเอียด ความพร้อมในการติดตั้ง พร้อมทั้งนัดวันสำรวจพื้นที่เพื่อดูความเหมาะสมของโครงการ

โดยสามารถติดต่อได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง

2. ขอรายละเอียดบริษัท

ขอข้อมูลบริษัทต่างๆ เช่น ทุนจดทะเบียน, ผลประกอบการย้อนหลัง, สถานะการเงิน สถิติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง อย่าง AMR Meter, สภาพพื้นที่ติดตั้ง เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัท A เหมาะที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์และสามารถประกอบธุรกิจไปได้นานมากกว่า 15 ปี

3. ตกลงเรื่องสัญญา

เป็นการตกลงเรื่องสัญญา Private PPA ว่าจะมีรายละเอียดอย่างไร โดยหลักแล้วจะคุยกันอยู่ 3 ประเด็นคือ 1) อายุสัญญากี่ปี 2) ส่วนลดกี่เปอร์เซ็นจากเรทของการไฟฟ้า 3) ผลประโยชน์อื่นๆ เช่น Carbon credit, ระบบหลังหมดสัญญา เป็นต้น

4. ติดตั้งโซลาร์เซลล์ (EPC)

เมื่อเซ็นสัญญาเสร็จสิ้น บริษัทไวส์ เอเนอร์จี รับหน้าที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ (EPC) ให้แก่บริษัท หลังจากนั้น บริษัทนายทุนจะเริ่มทำการขายไฟฟ้าให้กับบริษัทในราคาส่วนลดตามที่ได้ตกลงในสัญญา

5.ติดตามประสิทธิภาพการทำงาน

ในระหว่างอายุสัญญานั้น ไวส์ เอเนอร์จีจะเป็นผู้ดูแลระบบให้ทั้งหมด ทั้งการตรวจสอบ บำรุงรักษา ทำความสะอาด หรือแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุขัดข้องที่อาจทำให้การผลิตไฟฟ้าไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น