บริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์ใรช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำไปเยอะมาก ล้มหายไปจากตลาดก็มี และที่แต่ก่อนที่เราอาจจะรู้จักไม่กี่เจ้า ตอนนี้มีผู้เล่นใหม่จากจีนเข้ามาและทำราคาได้ดีขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นผู้นำตลาด บทความนี้จะพามาทำความรู้จักบริษัทผลิตแผง Tier 1 ที่คนไทยรวมถึงทั่วโลกต่างนิยมใช้ จะได้ตัดสินใจถูกว่าเราจะเลือกแผงจากบริษัทไหนที่จะดูแลเราไปอย่างน้อย 25 ปีครับ
1. LONGi Solar
ยอดผลิตในปี 2023: 95,000 mW
เจ้าของ:Li Zhenguo (สัญชาติจีน)
ประวัติ: บริษัท Xi’an LONGi Silicon Materials Corporation ก่อนตั้งปี 2000 ที่จีน โดยเริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบต้นทางอย่าง Wafer Monocrystalline ให้บริษัทอื่นไปทำแผงเท่านั้น ก่อนที่จะซื้อบริษัท Lerri solar แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น LONGi Green Energy Technology ในปี 2017 แล้วดำเนินงานให้ครอบคลุมการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ครบวงจร
จุดเด่น: มีประสบการณ์ในเรื่องการผลิตแผงตั้งแต่ต้นน้ำมาเป็นระยะเวลานาน หลังจากมีการซื้อบริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ LONGi มีทำต้นทุนได้ถูก มี R&D ที่ต่อเนื่องมานาน และทุกคนเชื่อมั่นในคุณภาพ
เทคโนโลยีล่าสุด: Hi-MO6 หรือ Hybrid Passivated Back Contact Cell (HPBC) มีด้วยกัน 4 series คือ Explorer, Scientist, Artist and Guardian ซึ่งมี Cell efficiency มากกว่า 25%
Website: https://www.jasolar.com/html/en/
2. Jinko Solar
ยอดผลิตในปี 2023: 90,000 mW
เจ้าของ: Xiande Li, Xianhua Li (สัญชาติจีน)
ประวัติ: JinkoSolar Holding ก่อนตั้งในปี 2006 เป็นบริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ต้น โดยมีทั้งการออกแบบ พัฒนา ผลิต และพัฒนาด้านแผงโดยเฉพาะ ทำให้มีผลงานการวิจัยออกมามากมายหลายรุ่นที่รองรับการติดตั้งแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับบริษัทผลิต Energy storage และ inverters ทำให้ตอนนี้ Jinko มี Battery ที่ทำงานร่วมกับ Growatt หรือ Deye Inverter ได้อีกด้วย โดยมีตั้งแต่ความจุ 1 kWh – 1mWh
จุดเด่น: R&D ที่แข็งแกร่งของบริษัทที่โฟกัสไปที่แผงโดยเฉพาะ ทำให้ปัจจุบันแผง Jinko ถือว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ล้ำหน้าของวงการ เช่น Tiger NEO
เทคโนโลยีล่าสุด: Tunnel Oxide Passivated Contact (TOPCon) cell technology เป็นเทคโนโลยีต่อยอดจาก PERC โดยจะทำให้แผงมีประสิทธิภาพมากขึ้น อายุนานขึ้น ทดความร้อนดีขึ้น และ Bificial factor ดีขึ้นอีกด้วย โดยรายละเอียดจะเกี่ยวข้องกับการใช้แผ่นรองแบบ N-type แทน P-type
Website: https://www.jinkosolar.com/en/
3. Trina Solar
ยอดผลิตในปี 2023: 75,000 mW
เจ้าของ: Jifan Gao (สัญชาติจีน)
ประวัติ: บริษัท Trina Solar Co., Ltd ก่อตั้งปี 1997 เริ่มต้นทำด้านการ Service ด้านโซลาร์เซลล์เป็นหลัก เช่น การติดตั้ง (EPC) และบริหาร & ดูแล (O&M) เป็นหลัก นอกจากนี้ยังทำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของเทคโนโลยี Multi-busbar (MBB) และ Smart micro-grid ด้วย ในปี 2018 Trina solar ได้เปิดตัวแบรนด์ Energy IoT ก่อตั้ง Trina Energy IoT Industrial Development Alliance ร่วมกับบริษัทและสถาบันวิจัยชั้นนำในจีนและที่อื่นๆ และก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรม IoT แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทเห็น Demand ฝั่งโซลาร์เซลล์มากขึ้น จึงขยับทิศทางบริษัทมาเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ โดยปี 2020 Trina solar เป็นบริษัทแรกที่ได้รับ dual Environmental Product Declaration (EPD) certification from UL ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อแนวทางปฏิบัติด้านการผลิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่น: เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและนำมาต่อยอดได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น MBB ก็นำมาใช้ในแผง หรือ Trina Pro ที่เป็น IoT ที่ปรับทิศของแผงตามแสงอาทิตย์ ซึ่งจะทำเรื่องนี้ไม่ได้เลยหากไม่มีประสบการณ์ด้าน IoT หรือ EPC มาก่อน นอกจากนี้ Trina solar ยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในปี 2009 อีกด้วย
เทคโนโลยีล่าสุด: Trina ใช้ชื่อรุ่นเป็น Vertex N ซึ่งก็คือ N-type ที่ใช้เทคโนโลยี TOPCon ซึ่งต่อยอดจาก PERC โดยจะทำให้แผงมีประสิทธิภาพมากขึ้น อายุนานขึ้น ทดความร้อนดีขึ้น และ Bificial factor ดีขึ้นอีกด้วย และมีเทคโนโลยี Multi-Busbar Technology ที่ตนเองชำนาญมาเสริม
Website: https://www.trinasolar.com/us
4. JA Solar
ยอดผลิตในปี 2023: 65,000 mW
เจ้าของ: Jin Baofang (สัญชาติจีน)
ประวัติ: ก่อตั้งในปี 2005 มีโรงงานที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตแผงโซลาร์เซลล์, Battery และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงแผง และ Junction box อยู่ 12 แห่งกระจายอยู่ทั่วโลก โดย JA นั้นนอกจากจะมีจุดเด่นด้านทีม R&D ที่ไม่แพ้บริษัทอื่น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เหนือคู่แข่งเสมอ พันธมิตรทางธุรกิจก็เลือกได้ดีเช่นกัน โดยมีทั้ง Manitu Solar ที่ช่วยดูแลตลาดในฝั่ง Eastern European หรือ Samsung C&T ที่ได้ดีลขนาด 875MW ใน Qatar ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี 2024 และในเรื่องสิ่งแวดล้อมเอง JA ก็มีระบบ “Six Plus” (green technology, green power supply and usage, green factory, green supply chain, green office, green lifestyle, and green concept dissemination) เช่นกัน
จุดเด่น: : R&D ที่แข็งแกร่งของบริษัท และโรงงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีการวางแผนในอนาคตที่ดี ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีแผงเปลี่ยนในอนาคตที่ผ่านไป 10-20 ปี
เทคโนโลยีล่าสุด: DeepBlue 4.0 Pro ซึ่งใช้เทคโนโลยี N-type Bycium+ cells,Gapless Flexible Interconnection (GFI), SMBB technology, และ High-density encapsulation technology ที่พัฒนาต่อยอดจาก DeepBlue 4.0 X ขึ้นมาอีก และตอนนี้เริ่มทำ Battery ของตัวเองแล้วด้วย
Website: https://www.jasolar.com/html/en/
5. Canadian Solar
ยอดผลิตในปี 2023: 36,200 mW
เจ้าของ: Shawn Qu (สัญชาติแคนาดา แต่เกิดที่จีนและจดบริษัทที่แคนาดา)
ประวัติ: ก่อตั้งในปี 2001 ประเทศแคนาดา โดยมีโรงงานอยู่ 23 แห่งในเอเชียและอเมริกา ตลาดหลักจะอยู่ในแถบ North America, Europe, Asia และ South America ปัจจุบัน Canadian solar ถือหุ้นบริษัท CSI Solar Ltd อยู่ 62.24% ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับแผงโซลาร์ และ Battery เป็นหลัก ซึ่งยังมีหน่วยงานย่อยที่ทำเรื่อง Inverter, อุปกรณ์เสริมและรับติดตั้ง (EPC) ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของบริษัท Recurrent Energy ด้วยสัดส่วนหุ้น 100% ซึ่งทำเกี่ยวกับแผงโซลาร์และ Battery ด้วยเช่นกัน
จุดเด่น: นอกจากเรื่องแผงโซลาร์เซลล์ที่มีการพัฒนาไปทาง N-type TOPCon เช่นเดียวกับแบรนด์อื่นๆ ด้าน Battery เองก็เด่นไม่แพ้กัน โดยมี SolBank ซึ่งเป็นโซลูชันแบตเตอรี่เก็บพลังงานที่ออกแบบและผลิตขึ้นเองสำหรับการใช้งานระดับสาธารณูปโภค และ EP Cube ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดเก็บพลังงานสำหรับที่อยู่อาศัยแบบครบวงจรน้ำหนักเบาและทันสมัยในเดือนกันยายน 2022
เทคโนโลยีล่าสุด: TOPHiku6 & TOPBiHiku6 และ TOPBiHiku7 เคลม Efficiency สูงสุด 28.7% ซึ่งเป็นเทคโนโลยี N-Type TOPCon Bifacial
Website: https://www.canadiansolar.com/
ใครอยากอ่านประวัติบรีิษัทไหนอีกบอกได้นะครับ บทความหน้าจะมาเจาะลึกวิทยาการแต่ละตัวว่ามันดีกว่าเดิมอย่างไรนะครับ