คนที่จะติดโซลาร์เซลล์น่าจะเคยลองเซิสหาดูบ้างว่าจะต้องเลือกแผงชนิดไหนดี แต่ตัวอักษรอย่าง Mono, half cell, PERC, P-type, N-type, TOPCon, HJT, HPBC บลาๆ มันยั้วเยี้ยไปหมด ไม่รู้ว่าตัวไหนมันดีหรือแย่กว่ากัน บทความนี้จะมาอธิบายตัวย่อพวกนี้นะครับ คนที่ซื้อจะได้นึกภาพออกว่าแผงแบบไหนดีกว่าอันไหน แล้วจะได้เลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์หรือเข้าใจว่าผู้ติดตั้งใช้ของเกรดแบบไหนได้ดีขึ้นครับ
1. Watt เยอะ ยิ่งดี?
ตัวเลข W ที่เขียนในชื่อของแผงเป็นประสิทธิภาพที่แผงนั้นผลิตไฟได้ต่อ 1 ชั่วโมงครับ เพราะฉะนั้น ยิ่งเลข W เยอะก็แปลว่ายิ่งดีกว่า แต่จริงๆแล้วอาจจไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป เพราะ แผงอาจจะขนาดไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งในตลาดตอนนี้จะมีประมาณ 2 ขนาดหลักๆคือ 2278×1134×35mm กับ 2465×1134×30mm ดังนั้นถ้าจำนวน W เท่ากัน แผงอันที่สองที่หนึ่งที่ขนาดเล็กกว่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าครับ
2. แผง Mono หรือ Poly
ชื่อเต็มคือ Monocrystalline กับ Polycrystalline ถ้าเลือกได้ให้เลือก “Mono” ครับ เพราะใช้ ซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่า
วิธีสังเกตจากภายนอกง่ายๆคือ Mono จะสีดำ บางมุมจะน้ำเงินเข้ม ส่วน Poly จะน้ำเงิน/ฟ้า ไปเลย ไม่มีโทนดำปนครับ เดี๋ยวนี้แผงใหม่ๆเป็น Mono ทั้งหมดแล้วเพราะราคาค่อนข้างถูกแล้วครับ
มีแผงชนิดอื่นๆด้วย อ่านเพิ่มได้ในนี้ https://wise-energy.co.th/solarcelltypes/
3. Half cut cell กับ Full cell
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ตัดเซลล์ออกเป็นครึ่งหนึ่ง เพื่อลดความต้านทาน ส่งผลให้จำนวนเซลล์ในแผงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้ช่วยลดการสูญเสียพลังงานจากกระแสไฟไหลผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ ส่งผลให้แผงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากโดนแสงบังฝั่งนึง อีกฝั่งก็จะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับ Full cell ที่เป็นแบบธรรมดา
วิธีสังเกตจากภายนอกง่ายๆคือ ภายนอกจะเป็นมีเส้นขอบแบ่งครึ่งเหมือนเป็น 2 วงจรครับ เดี๋ยวนี้แผงใหม่ๆ จะเป็น Half cut cell ทั้งหมดแล้วครับ เพราะดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
4. P-type กับ N-type
ข้อแตกต่างที่ชัดที่สุดของแผง P-type กับ N-type คือ “สารเคมีที่เลือกใช้เป็น Base layer” ครับ P-type จะใส่ Boron ลงไปเป็น Base layer สลับกันกับฝั่ง N-type ที่ใช้ Phosphorus เป็น Base layer ซึ่งผลลัพธ์ของการทำแบบ N-type คือได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น, อายุแผงนานขึ้น,ทำงานในที่แสงน้อยได้ดีขึ้น และอื่นๆอีกหลายอย่างมาก (สามารถอ่านแบบละเอียดได้ที่ https://wise-energy.co.th/n-type/ )
วิธีสังเกตจากภายนอกจะทำได้ทางเดียวคือไปดูรุ่นที่ Barcode ของแผงแล้วเอาไปเซิสต่อครับ หรือบางรุ่นที่กำลังผลิตไฟเยอะๆ เช่น 620W ก็น่าจะเป็น N-type ครับ
ตอนนี้ P-type ยังเป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะราคาถูกมาก แต่ต้องยอมรับว่ามันจะกลายเป็นเทคโนโลยีเก่าแล้วเพราะ N-type กำลังถูกลงเรื่อยๆ แล้วจะมาแทนที่ครับ
5. ดูรุ่นของแต่ละแบรนด์
ในภาพรวม เราพอจะมองเห็นว่าแผง Monocrystalline half-cut cell N-type จะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในอนาคตแน่ๆ ซึ่งรายละเอียดการพัฒนาของแต่ละแบรนด์จะมีแนวทางของตัวเองซึ่งจะแตกต่างกันแล้ว เช่น
LONGi
จะเอนไปทางเทคโนโลยี Hybrid Passivated Back Contact Cell (HPBC) โดยตั้งชื่อว่า Hi-MO6 และกำลังจะพัฒนา Hi-MO7 เทคโนโลยี Hybrid Passivated Dual-Junction Cell (HPDC) ที่เปิดตัวไปในงาน Intersolar 2023 ที่ผ่านมา
Jinko
จะเอนไปทางเทคโนโลยี N-type Tunnel Oxide Passivated Contact (TOPCon) เป็นหลักตาม Series แผง Tiger Neo (TOPCon) ครับ ในงาน Intersolar 2023 ได้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ชื่อว่า N-type TOPCon HOT 2.0 technology และ Slim Multi-busbar (SMBB)
JA solar
จะใช้เทคโนโลยี Bycium+ cell technology และ Gapless Flexible Interconnection (GFI) ซึ่งรุ่นล่าสุดจะตั้งชื่อว่า Deep blue 4.0 Pro
สำหรับ 3 แบรนด์ใหญ่ที่นิยมในไทยก็จะมีประมาณนี้ครับ ถ้าอยากอ่านละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ link นี้ครับ https://wise-energy.co.th/solarpanelcompany/
สรุป
ในตอนนี้หากต้องการเลือกเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดจะต้องมีส่วนประกอบ 3 อย่าง คือ 1) Monocrystalline 2) Half-cut cell และ 3) N-type ครับ โดยแต่ละแบรนด์ก็อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่ 3 เรื่องนี้จะเป็นตัวยืนในทุกๆชื่อครับ ซึ่งถ้าวัดแผงที่นิยมและคุ้มราคาที่สุดในตอนนี้ก็จะเป็น Mono + Half cut cell + P-type ครับ เลือกกันได้ตามสะดวกเลย แต่สำหรับไวส์ เอเนอร์จี จะเลือกแผงแบบ N-type แล้วเพราะมองเรื่องประสิทธิภาพ และการเคลมของในอีก 10-20 ปี เลือกรุ่นใหม่ที่สุดก็จะหาของง่ายกว่าครับ
นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ทุกครั้ง พยายามขอใบรับประกันแผงจากผู้ติดตั้งไว้ด้วยนะครับ เผื่อฉุกเฉินผู้ติดตั้งหรือบริษัทนำเข้าเลิกกิจการ จะได้เคลมโดยตรงกับบริษัทผลิตแผงได้ครับ